วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ภาวะโลกร้อนกับความหลากหลายทางชีวภาพ

ข่าว

โลกร้อนกระทบแหล่งอาหารชะนีเขาใหญ่

            การบรรยายหัวข้อ “เมื่อโลกร้อนขึ้น จะเกิดอะไรกับความหลากหลายทางชีวภาพ” ในการประชุมใหญ่ประจำปี 2551 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือ NAC 2008

           ศ.วอร์เรน บรอคเกลแมน (Prof.Warren Brockelman) นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค ซึ่งศึกษาชะนีที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะส่งผลต่ออาหารของชะนี เพราะป่ามีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น

           ประเทศไทยมีชะนีทั้งหมด 4 ชนิดคือ ชะนีมือขาว, ชะนีมือดำ, ชะนีมงกุฎ และชะนีไซแอม มัง โดยชะนีมงกุฎ ชะนีมือขาว จะพบที่เขาใหญ่ ส่วนชะนีมือดำ และชะนีไซ แอมมัง จะพบทางภาคใต้ ธรรมชาติของชะนีจะอยู่กันเป็นครอบครัว แต่เมื่อลูกชะนีโตเต็มวัยก็จะหาคู่และแยกไปสร้างครอบครัวใหม่ ครอบครัวของชะนีจะอยู่เป็นอาณาเขตประมาณ 150 ไร่

            น.ส.อนุตรา ณ ถลาง นักวิจัยไบโอเทค ซึ่งศึกษานิเวศวิทยาในพื้นที่เขาใหญ่เช่นเดียวกัน กล่าวว่า ถึงแม้จะไม่ได้ศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยตรง แต่จากการติดตามความหลากหลายทางชีวภาพมากว่า 10 ปีพบว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องศึกษาให้แน่ใจโดยการทำแบบจำลองว่าผลกระทบแหล่งอาหารของชะนีเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือไม่

            พื้นที่ป่าของไทยนั้นเป็นพื้นที่ไม่ต่อเนื่องและถูกล้อมด้วยเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม โดยอุณหภูมิรอบ ๆ เขาใหญ่ที่เพิ่มขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อป่าที่มีพื้นที่อยู่เพียงนิดเดียวด้วย.


ที่มา:เดลินิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น