วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย แหล่งท่องเที่ยวทางภาคใต้ของไทย

กิจกรรมท่องเที่ยวทางธรรมชาติและท้าทาย

การดำน้ำ

ภูเก็ตมีจุดดำน้ำที่น่าสนใจอยู่มากมายนะครับ ทั้งการดำน้ำตื้นและน้ำลึก การดำน้ำตื้นก็จะมีอยู่ที่บริเวณหาดสุรินทร์ หาดหินแดง หาดหินม่วง เป็นจุดที่เพื่อนๆสามารถสัมผัสได้กับฝูงปลาน้อยใหญ่มากมาย ส่วนจุดดำน้ำลึกก็มีอยู่หลายที่นะคับแต่ละที่ก็สวยๆทั้งนั้นเลย โดยจะอยู่ตามเกาะต่างๆ ทั่วบริเวณรอบเกาะภูเก็ต อย่างเช่น หมู่เกาะราชา เกาะดอกไม้ หินหมูสังนอกและหินหมูสังใน เป็นต้น เพื่อนๆก็ได้สัมผัสกับดงปะการังอ่อน ดงปะการังแข็ง ดอกไม้ทะเล ปลาหลากหลายพันธุ์ ที่มีความสวยงามโดดเด่นตามหมู่เกาะทะเลใต้ ของเกาะภูเก็ต เพื่อนๆสามารถติดต่อกับบริษัททัวร์ต่างๆ ไว้คอยบริการมากมายนะคับ และจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการดำน้ำไว้คอยแนะนำด้วยนะครับ
การขี่ช้าง
สำหรับเพื่อนๆที่ชอบการชมวิวทางธรรมชาติของเกาะภูเก็ต และเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความท้าทายความตื่นเต้น ในขณะที่นั่งอยู่บนหลังช้างเพื่อนๆก็จะได้สัมผัสถึงพรรณไม้ต่างๆ สัตว์ป่าต่างๆอย่างใกล้ชิด เพื่อนๆสามารถติดต่อขอเที่ยวกับบริษัททัวร์ต่างๆมากมาย ทั่วจังหวัดภูเก็ต


การขี่ม้า
เป็นกิจกรรมที่เพื่อนๆสามารถใช้เวลาว่างและพักผ่อนไปกับการขี่ม้าชมวิวตามหาดต่างๆ พร้อมกับสูดรับบรรยากาศตามชายหาด หรือจะเป็นในสนามขี่ม้า ซึ่งเปิดให้บริการมากมายตามเกาะภูเก็ต ทั้งที่บ้านไสยวนบริเวณหาดในหาน ที่ลากูน่าภูเก็ตบริเวณหาดบางเทา โดยเพื่อนๆไม่จำเป็นต้องเคยขี่ม้ามาก่อนก็ได้ เพื่อนๆก็สามารถร่วมกิจกรรมนี้ได้

การตกปลา
การตกปลานี้เป็นกิจกรรมที่มีความนิยมมากของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ชอบกีฬาทางน้ำ โดยเพื่อนๆสามารถเพลิดเพลินไปกับการตกปลากลางทะเลอันดามัน โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยนำทางตลอดการเดินเรือ


การเล่นเรือใบ-เรือยอร์ช
ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลอันดามันนะครับ โดยมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย หนึ่งในกิจกรรมที่เพื่อนๆไม่ควรพลาดและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว คือการเล่นเรือใบ และเรือยอร์ช โดยเพื่อนๆสามารถเช่าเรือใบเรือยอร์ช ได้ตามบริษัททัวร์ต่างๆด้วย


ล่องเรือเที่ยวทะเลไปกับเรือกอจ๊าน
โดยจะหาดูได้ยากมากนะครับ โดยจะมีที่เดียวที่จังหวัดภูเก็ต

นั่งเครื่องบินเล็กชมทิวทัศน์ทางอากาศ
นอกจากการท่องเที่ยวทางบกและทางน้ำแล้ว เพื่อนๆสามารถท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ทางอากาศได้อีกด้วย โดยการนั่งเครื่องบินเล็กชมแหล่งท่องเที่ยวบริเวณภูเก็ตและเกาะพีพี ซึ่งเป็นอะไรที่สวยมากเมื่อเทียบกับราคาที่จ่ายไป

ตีกอล์ฟ
ทั่วจังหวัดภูเก็ตมีสนามกอล์ฟที่มีมาตรฐานมากมายนะครับ ไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวและเพื่อนๆทุกคนนะคับ ทั้งที่สนามกอล์ฟลอร์คปาล์ม สนามกอล์ฟลากูน่า สนามกอล์ฟบลูแคนยอน เป็นต้น


การเล่นกีฬาเอ็กสตรีม ที่ภูเก็ต
ที่จังหวัดภูเก็ตมีกิจกรรมการเล่นกีฬาเอ็กสตรีมอยู่มากมาย ทั้งการยิงปืน กระโดดปันจี้ จั้ม การเล่นเคเบิ้ลสกี หรือผู้ที่ชอบความเร็วก็ต้อง โกคาร์ท สปีดเวร์ โดยเพื่อนๆไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยนะครับ เพราะ มีอุปกรณ์ safty ที่มีมาตรฐานไว้คอยรองรับเรื่องความปลอดภัยอยู่แล้ว ซึ่งตลอดการเล่นกีฬาเอ็กสตรีมเพื่อนๆก็จะได้สัมผัสกับบรรยากาศที่มีความท้าทาย ตื้นเต้น สนุกสนาน ที่มิอาจจะพลาดลงได้
http://www.bannphuket.com/2010/05/blog-post_18.html

แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ

แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์ฯนิเวศป่าชายเลนบางปะกง

             อำเภอบางปะกงเป็นอำเภอเล็ก ๆ ที่ติดกับอ่าวไทย  มีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่าน  พื้นที่บางส่วนริมแม่น้ำบางปะกงและบริเวณปากอ่าวจึงเป็นป่าชายเลน
              ดิฉันเกิดและเติบโตมาจากป่าชายเลนโดยแท้  ชีวิตในวัยเด็กมีเพื่อนสนิทเป็นปูเปี้ยว นกกินปลาสีฟ้า นกกระยางขายาว ต้นโกงกาง ต้นแสม  ต้นจาก   ต้นลำพูและหิ่งห้อย
เพราะเกือบค่อนชีวิตใกล้ชิดกับป่าชายเลนถึงเพียงนี้   เมื่อไปพบเห็นป่าชายเลนที่ใด ดิฉันจึงมักวิ่งเข้าใส่เสมอ แม้ในป่านั้นจะมีเพื่อน(ที่ดิฉันไม่อยากนับว่าเป็นเพื่อนเลย) เป็นหมื่น ๆ ตัวคอยตอมกินเลือดของเราอยู่ก็ตาม
              วันหนึ่งเมื่อดิฉันได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่บางอย่าง  ณ  โรงเรียนบางปะกง "บวรวิทยายน"  ดิฉันจึงใช้เวลาพักกลางวันที่แดดกำลังแรงได้ที่ ท่ามกลางแสงดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงประกายเจิดจ้าตรงศีรษะพอดี  ชักชวนผู้ร่วมอุดมการณ์และเด็กนักเรียนหญิงจำนวน ๖ คน ให้พาเดินชมป่าชายเลน  โดยไม่หวั่นเกรงว่าฝ้าจะมาเยือนใบหน้าแต่อย่างใด
            เพราะเมื่อเดินผ่านสะพานไม้ทอดยาวคดเคี้ยวเข้าไปในป่าชายเลน  ท่ามกลางต้นแสม  ต้นโกงกาง  นั้นอากาศกลับเย็นสดชื่นอย่างประหลาด  ดิฉันหวลนึกถึงวัยเด็ก  ป่าชายเลนคือสนามเด็กเล่นของฉัน 
เพื่อนเล่นในวัยเด็กของฉัน

ในป่าจะมีป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนตลอดเส้นทาง
เรือมาด (เป็นเรือขุดจากไม้เพียงต้นเดียว)  พาหนะแห่งสายน้ำ
จุดพักเหนื่อย  แวะให้มัคคุเทศน์น้อยบรรยายให้ความรู้
ป้ายเรียนรู้ตลอดเส้นทาง
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ป่าชายเลน
ปูก้ามดาบ  หรือ  ปูเปี้ยว ในภาษาถิ่น
  ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียและมีก้ามขนาดใหญ่เพียงข้างเดียว อีกข้างหนึ่งจะมีขนาดเล็กกว่า
ตัวเมียจะมีสีสรรที่สวยงามและก้ามสองข้างจะมีขนาดเล็กเท่ากัน
ต้นจาก  เป็นไม้วงศ์เดียวกับปาล์ม มีประโยชน์มากมาย
ใบใช้ทำขนม  หรือมาเย็บเป็นตับใช้มุงหลังคาบ้านหรือทำฝาบ้านได้
ดอกใช้ทำอาหาร แกงส้ม แกงเผ็ด  หรือจิ้มน้ำพริก
ผล หรือลูกจาก ทานเป็นผลไม้สด ๆ หรือใส่น้ำเชื่อมทานก็ได้
สาเหตุการทำลายพื้นที่ป่าชายเลน

               ป่าชายเลนเป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ  พบมากในบริเวณปากแม่น้ำหรือริมทะเลที่มีน้ำขึ้นน้ำลง   เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ  และสัตว์ปีก 
               ป่าชายเลนเป็นต้นกำเนิดของระบบนิเวศวิทยาทางทะเล  เป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำนานาชนิด   เป็นแหล่งกำเนิดของแพลงตอน  อันเป็นต้นกำเนิดของห่วงโซ่อาหาร
               นอกจากนี้ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งกรองของเสียจากแม่น้ำลำคลอง ก่อนไหลลงสู่ทะเล    ที่สำคัญไปกว่านั้น ในภาวะการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน  ป่าชายเลนช่วยทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และผลิตก๊าซอ๊อกซิเจนให้แก่โลกเรา
และในยามที่คลื่นลมทะเลรุนแรง  ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งกำบังคลื่นลมให้แก่มนุษย์  ช่วยลดการทำลายพื้นที่ชายฝั่งทะเลอีกด้วย
               เราจึงควรตระหนักและเห็นคุณค่าของป่าชายเลน  มาร่วมมือกันอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนไว้ไม่ให้ถูกทำลายไปมากกว่านี้    ไม่ควรทำลายพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อนำมาสร้างสิ่งก่อสร้างใด ๆ และควรช่วยกันขยายพื้นที่ป่าชายเลนออกไป
ป่าชายเลนช่วยเรา เราช่วยป่าชายเลน

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์ป่าไม้       
           
              ป่าไม้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีพของมนุษย์และการคงอยู่ของสิ่งแวดล้อมต่างๆ จากการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ในทุกส่วนของโลกหรือของประเทศไทย ทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการสูญเสียและผลที่ได้รับจากการกระทำอันนี้ การดำเนินงานอนุรักษ์ป่าไม้จึงได้รับความสนใจจากภาครัฐบาลและเอกชน และประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง การอนุรักษ์ป่าไม้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวกระทำได้ดังนี้
           
1.การกำหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาติ นโยบายป่าไม้แห่งชาติมีอยู่ 20 ข้อที่สำคัญคือ การกำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ เป็นการกำหนดแนวทางการจัดการและการพัฒนาป่าไม้ในระยะยาวเพื่อประโยชน์ 2 ประการ ดังนี้
               
1.1 ป่าเพื่อการอนุรักษ์ กำหนดไว้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่หายาก และป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิดจากน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ตลอดทั้งเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การวิจัย และนันทนาการของประชาชนในอัตราร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 48 ล้านไร่
                 
1.2 ป่าเพื่อเศรษฐกิจ กำหนดไว้เพื่อการผลิตไม้และของป่า เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ ในอัตราร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 80 ล้านไร่ ป่าอนุรักษ์ หมายถึง พื้นที่ได้รับการคุ้มครองที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยทั่วไปอยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้อาจเป็นพื้นที่ป่าไม้ชายฝั่งทะเล หรือลักษณะอื่นๆ ที่มีระบบ นิเวศดั้งเดิม หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพื่อใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ เช่น การท่องเที่ยว นันทนาการ การศึกษาวิจัย ป่าอนุรักษ์ในระดับสากล (IUCN) แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ส่วนในประเทศไทยประกอบด้วย 11 ประเภท ดังนี้
           
1.อุทยานแห่งชาติ (National Park) หมายถึงที่ดินซึ่งรวมความถึงพื้นที่ดินทั่วไป ภูเขา ห้วย หนอง คลองบึง บาง ลำน้ำทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลที่ได้รับการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในทางปฏิบัติอุทยานแห่งชาติ คือ พื้นที่ที่สงวนไว้เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และสัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ธรรมชาติ ที่สวยงาม สงวนไว้เพื่อให้คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิม เพื่อรักษาสมบัติทางธรรมชาติให้อนุชนรุ่นหลังๆ ได้ชมและ ศึกษาค้นคว้า มีลักษณะที่สำคัญ คือ

(1) เป็นสถานที่ที่สภาพธรรมชาติเป็นที่โดดเด่นน่าสนใจและงดงาม
(2) มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใด
(3) โดยทั่วไปต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10 ตารางกิโลเมตร เป็นสถานที่สงวนรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน โดยอาจจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็น เช่น ถนน หรือเส้นทางไปชมธรรมชาติ ที่พักดูแลและบำรุงรักษา
           
                 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มต้นแบบการจัดอุทยานแห่งชาติขึ้น โดยประกาศให้เขตเยลโลสโตน (Yellowstone) เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของโลก (พ.ศ.2415) ต่อมาจึงมีประเทศต่าง ๆ รวมทั้งไทยจัดให้มีอุทยานแห่งชาติขึ้น ในประเทศของตนตามอย่างสหรัฐอเมริกา นับถึงปัััจจุบันเชื่อว่าทั่วโลกมีอุทยานแห่งชาติแล้วมากกว่า 1,392 แห่ง สำหรับอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัด นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี และสระบุรี นอกจากนี้ยังมีอุทยานแห่งชาติอื่น ๆ เช่น อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตะรุเตา หมู่เกาะอ่างทอง เขาหลวง เป็นต้น
           
2.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife Sanetuary) หมายถึงพื้นที่ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย เพื่อว่าสัตว์ป่าในพื้นที่ดังกล่าวได้มีโอกาสสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้มากขึ้น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรก คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี ปัจจุบันประเทศไทย ได้ประกาศจัดตั้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแล้ว 34 แห่ง รวมพื้นที่ 16,305,294 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.08 ของพื้นที่ประเทศ
           
 3.วนอุทยาน (Forest Park) หมายถึงพื้นที่ที่มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม มีความเด่นในระดับท้องถิ่น ซึ่งจัดไว้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและเที่ยวเตร่ของประชาชน มีการปรับปรุงตกแต่งสถานที่ เพื่ออำนวยความสะดวก ให้เหมาะสม หลักทั่วไปในการจัดตั้งวนอุทยาน คือ

(1) ต้องมีทิวทัศน์ที่สวยงาม
(2) เป็นพื้นที่ที่อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ
(3) มีพื้นที่ประมาณ 500-5,000 ไร่
(4) อยู่ไม่ห่างไกลจากชุมชนมากนัก
(5) เป็นสถานที่ที่ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักกันดี วนอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย คือ วนอุทยานน้ำตกกระเปาะ จังหวัดชุมพร ประกาศจัดตั้ง เมื่อปี พ.ศ.2501
           
4.เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (Non-hunting areas) หมายถึงบริเวณที่ที่ราชการใช้ในราชการ หรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน การกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่า จะประกาศขึ้นเป็น ราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าชนิดใดหรือประเภทใดก็ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี กรมป่าไม้เป็นคราว ๆ ไป
           
5.สวนพฤกษศาสตร์ (Botanical Garden) หมายถึงสถานที่ที่ราชการได้รวบรวมพันธุ์ไม้ไว้ทุกชนิดทั้งในและนอกประเทศ ที่มีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจทางด้านความสวยงาม และที่หายากมาปลูกไว้โดยแยกเป็นหมวดหมู่ และตระกูลเพื่อการศึกษาวิจัยและการเผยแพร่การขยายพันธุ์ ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและแก่ประเทศชาติสืบไป สวนพฤกษศาสตร์ ที่สำคัญและคนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี คือ สวนพฤกษศาสตร์พุแค จังหวัดสระบุรี สวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง จังหวัดตรัง เป็นต้น
           
6.สวนรุกขชาติ (Arboretum) หมายถึงสวนเล็ก ๆ มีพื้นที่น้อยกว่าสวนพฤกษศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมพันธุ์ไม้ต่างๆ ไว้ โดยเฉพาะไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้ดอกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่นนั้น แต่มิได้ปลูกเป็นหมวดหมู่เหมือนอย่างในสวนพฤกษศาสตร์ แต่มีชื่อพันธุ์ไม้ติดไว้ มีการทำถนนและทางเท้าเข้าชม จุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและการศึกษา ปัจจุบันมีสวนรุกขชาติที่ดำเนินการอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ มากกว่า 15 แห่ง เช่น สวนรุกขชาติสกุโณทยาน จังหวัดพิษณุโลก และสวนรุกขชาติธารโบกธรณี จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
           
7.พื้นที่สงวนชีวาลัย (Biosphere Reserve) หมายถึงพื้นที่อนุรักษ์สังคมพืชและสัตว์ในสภาวะของระบบนิเวศที่เป็นธรรมชาติ เพื่อรักษาความหลากหลายทาง พันธุกรรมและเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะข้อมูลพื้นฐาน ทั้งในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติและที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป พื้นที่สงวนชีวาลัยนี้มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาและฝึกอบรมด้วย ซึ่งพื้นที่เหล่านี้สภาประสานงานนานาชาติด้านมนุษย์และชีวาลัย (The Man and the Biosphere International Co-ordinating Council) จะเป็นผู้ประกาศ
           
8.พื้นที่มรดกโลก (World Heritage) หมายถึงพื้นที่ที่มีหรือเป็นตัวแทนทรัพยากรธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีความเด่นในระดับโลก ซึ่งอาจประกอบด้วยวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของโลก (The Earths Evolutionary History) ขบวนการทางธรณีและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (Geological Process and Biological Evolution) ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พิสดารหรือลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์ (Superative natural Phenomena) หรือระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยสัตว์หรือพืชที่หายาก (Habitat Containing Theatened Species) มีคุณค่าและความสำคัญทางชีวภาพ ซี่งพื้นที่นี้ต้องได้รับการประกาศจาก UNESCO แหล่งมรดกโลกกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลกจนถึงเดือนธันวาคม 2535 มีทั้งหมด 378 แหล่ง แบ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม 278 แหล่ง มรดกทางธรรมชาติ 85 แหล่ง และเป็นทั้งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ 15 แหล่ง แหล่งมรดกของไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติมี 4 แหล่งคือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มรดกบ้านเชียง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทุ่งใหญ่นเรศวร การที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เนื่องจากมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ข้อ 1 คือ มีคุณค่าและความสำคัญทางชีวภาพ และหลักเกณฑ์ข้อ 2 คือ มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์ และหลักเกณฑ์ข้อ 3 คือเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าและพรรณพืชนานาชนิด
           
9.พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 (Watershed Class 1) หมายถึงพื้นที่ป่าที่ป้องกันไว้เพื่อเป็นต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งให้น้ำต่อพื้นที่ตอนล่าง มักเป็นพื้นที่ตอนบนที่มีความลาดชันมาก ดินมีสมรรถนะในการพังทลาย เป็นพื้นที่ที่ควรเก็บไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
           
10.ป่าชายเลนอนุรักษ์ (Conservation Mangrove Forest) หมายถึงป่าชายเลนที่หวงห้ามไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ใด ๆ นอกจากจะปล่อยให้เป็นสภาพธรรมชาติ เพื่อรักษาไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์พืชและสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ พื้นที่ที่ง่ายต่อการถูกทำลายและการพังทลายของดิน พื้นที่ป่าที่สมควรสงวนไว้เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ เป็นต้น เช่น กำหนดให้มีพื้นที่ที่อยู่ห่างไม่น้อยกว่า 20 เมตร จากริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลองธรรมชาติ และไม่น้อยกว่า 75 เมตรจากชายฝั่งทะเลเป็นป่าชายเลนอนุรักษ์
           
11.พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ (Natural Conservation Area) หมายถึงพื้นที่ธรรมชาติที่ประกอบด้วย เกาะ แก่ง ภูเขา หนอง บึง ทะเลสาบ ชายหาด ซากดึกดำบรรพ์ และธรณีสัณฐานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งประกาศตามมติ ค.ร.ม. พ.ศ.2532

วิธีการอนุรักษ์ป่าไม้ที่สำคัญคือ
     1.การคุ้มครองป่าไม้
     2.การควบคุมการตัดไม้
     3.การปลูกป่า
     4.การป้องกันไฟป่าและแมลงทำลายต้นไม้
     5.การใช้ไม้อย่างประหยัด ใช้วัสดุอื่นแทนไม้ หรือการนำเศษไม้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
     6.การปรามปราบผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
     7.การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของป่าไม้
     8.มีนโยบายเปิดป่าสัมปทานการทำป่าไม้เพื่อช่วยอนุรักษ์ป่า



วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ระบบนิเวศและประโยชน์ของทุ่งน้ำจืด
          น้ำ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของระบบนิเวศทุ่งน้ำจืด ทั้งในด้านการกำเนิดและการดำรงอยู่ น้ำภายในทุ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จนถึงสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ การที่น้ำถูกระบายผ่านทุ่งน้ำจืดเคลื่อนที่ได้ช้า เพราะลักษณะภูมิประเทศอันเป็นที่ราบ ทำให้สิ่งที่แขวนลอยและตะกอนดินต่างๆ ที่ไหลมากับน้ำ เกิดการตกตะกอนเป็นธาตุอาหารให้กับพืชน้ำ สัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ขึ้นจะกินพืชและสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร เหยี่ยว งู ปลาไหล นาก ฯลฯ จะกินสัตว์น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นอาหารอีกต่อหนึ่ง



<><><><><>   
                      ทุ่งน้ำจืด เป็นแหล่งกักเก็บน้ำในวัฏจักรของน้ำ ( hydrological cycle ) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของโลกและตัวมนุษย์เอง                                       input หรือ การได้มาของน้ำในทุ่งได้จาก น้ำฝน น้ำจากแม่น้ำลำคลองที่ไหลลงมายังทุ่ง ( river runoff ) น้ำที่ไหลบ่าหน้าดิน ( surface wash ) และน้ำใต้ดิน ( ground water )
                       ส่วน output หรือ การสูญเสียน้ำจากทุ่ง ได้แก่ การคายระเหย (evapotranspiration) น้ำที่ไหลตามลำคลองออกไปจากทุ่ง( river runoff ) เมื่อทุ่งมีน้ำเกินความสามารถที่จะรับได้ และน้ำใต้ดิน ( ground water ) ( Hollis, 1989)
                     การเกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้ง มีผลกระทบกับทุ่งน้ำจืดโดยตรง น้ำท่วมอาจทำให้สิ่งมีชีวิตในทุ่งบางชนิด เช่น หนูที่อยู่ในรูตายได้ แต่ความแห้งแล้งทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวนานของน้ำท่วมและความแห้งแล้ง ข้อมูลเกี่ยวกับความถี่และช่วงเวลาของการเกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้งช่วยในการจัดการพื้นที่ทุ่งได้
                    Adamus และ Stockwell ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเสนอต่อกรมทางหลวงสหรัฐอเมริกา และได้สรุปความสัมพันธ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำต่อมวลมนุษย์ดังนี้
1. เก็บกักน้ำใต้ดิน                         
2. ปลดปล่อยน้ำใต้ดิน
3. ควบคุมไม่ให้เกิดน้ำท่วม
4. ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
5. กักเก็บตะกอน
6. สะสมและปลดปล่อยธาตุอาหาร
7. เป็นส่วนหนึ่งของลูกโซ่อาหาร
8. เป็นที่อยู่อาศัยของปลา
9. เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีศักยภาพ






ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        
          สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ ทำให้สิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติ เน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ มากกว่าสิ่งอื่น


ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก. ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป


ข. สิ่งแวดล้อม
     สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
    2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จำแนกได้ 2 ชนิด คือ
    1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด
    2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์
    สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างขึ้น ได้แก่     สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์เสริมสร้างขึ้นโดยใช้กลวิธีสมัยใหม่ ตามความเหมาะสมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ ฝนเทียม เขื่อน บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุท อื่น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ค่านิยม และสุขภาพอนามัย
สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ
    1) มนุษย์
    2) ธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
(น้ำเน่า อากาศเสีย)
    ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เกิดบ่อยครั้งนัก
สรุป มนุษย์เป็นตัวการสร้าง และทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าธรรมชาติ

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

สิ่งแวดล้อม

สภาวะสิ่งแวดล้อมของโลก : กัมมันตภาพรังสี

       เรื่องของผมค่อนข้างน่าสะพึงกลัว และค่อนข้างจะน่ารังเกียจอย่างหนึ่งเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรังสีซึ่งท่านกลัวกันอยู่ ผมขอจำกัดขอบเขตการพูดในเรื่องนี้ ประเทศเรานั้นมีกฎระเบียบในการป้องกันปรมาณูอย่างไร ความจริงแล้วเรื่องพลังงานปรมาณูได้บูมขึ้นประมาณ พ.ศ. 2488 ซึ่งมีการใช้ระเบิดปรมาณูครั้งแรกที่ฮิโรชิมา นางาซากิ หลังจากนั้นประมาณ 8 ปี คือ พ.ศ. 2496 รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาคือ ประธานาธิบดี ไฮเซ่นฮาว คิดว่า เราอย่ามาสร้างสรรระเบิดปรมาณูในการทำลาย เราควรช่วยกันทำในทางสันติดีกว่า จึงสร้างโครงการ Atom For Peace ขึ้น ซึ่งไทยก็เข้าร่วมโครงการนั้นในปี พ.ศ. 2497 ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำ 2 คำก่อน ซึ่งยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากคือ สารรังสีหรือสารกัมมันตภาพรังสี และกัมมันตภาพรังสีหรือรังสี
         วิทยากรได้เปรียบเทียบให้เห็นดวงอาทิตย์ที่ฉายแสงแดดออกมาตลอดเวลาเหมือนสารรังสีหรือสารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งแผ่รังสีออกมาตลอดเวลาเช่นกัน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดถึงรังสีแล้วก็ต้องมีสารรังสีเปล่งออกมา ดังนั้นที่ท่านกลัวเรื่องเซ็อร์โนบิลนั้น ก็คือท่านกลัวเรื่องสารรังสีที่แผ่ออกมา ฉะนั้นทั้งสองประเด็นนี้ท่านต้องแยกออกจากกันให้เด่นชัด คำว่า "สารรังสี" นั้น ท่านอย่านึกว่าท่านอยู่ในที่นี้แล้วท่านจะไม่พบ สารรังสีมี 2 ประเภท ประเภทหนึ่งเกิดในธรรมชาติ ซึ่งในตัวท่านเองก็มี อีกประเภทหนึ่งคือมนุษย์ทำขึ้น เรียกว่า Man-Made
         การเปรียบเทียบสารรังสีกับหลอดไฟ แสงสว่างจากหลอดไฟสามารถมองเห็น รู้สึกได้ แต่สัมผัสไม่ได้ ขณะที่สารรังสีไม่สามารถมองเห็น รู้สึกไม่ได้ และสัมผัสไม่ได้ ถ้าใช้แผ่นกระดาษบาง ๆ แสงสว่างยังส่องผ่านได้ แต่กรณีสารรังสีนั้น รังสีแอลฟา จะผ่านไม่ได้ แต่รังสีเบต้า และแกมม่า ผ่านได้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอันหนึ่งในการกำจัดสารรังสีประเภทหนึ่งได้ ถ้าใช้กระดาษแข็งแสงสว่างอาจจะลอดได้นิดหน่อยหรืออาจจะทึบไปเลย แต่กรณีรังสีแล้ว รังสีเบต้าจะถูกดูดไว้ แต่รังสีแกมม่าสามารถทะลุได้จากการทราบเช่นนี้ ทำให้เราสามารถป้องกันรังสีประเภทใดประเภทหนึ่งได้
          ประเทศไทยมีหน่วยงานรับผิดชอบเกี่ยวกับพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ในปี พ.ศ. 2504 ทางสภาก็ได้ผ่านพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งออกมา ซึ่งทำให้เกิดสององค์กรคือ คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยคณะกรรมการปรมาณูเป็นผู้สร้างนโยบายให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเป็นผู้ปฏิบัติ เมื่อพิจารณาโครงสร้างของสำนักงานพลังงานปรมาณูแล้ว กองสุขภาพกองขจัดกากกัมมันตภาพรังสี กองการวัดกัมมันตภาพรังสี ทั้ง 3 กองนี้มีหน้าที่ควบคุม และป้องกันอันตรายจากรังสีทั้งภายในและภายนอก สำหรับโครงการเตรียมการโรงไฟฟ้าปรมาณู ที่คิดว่าจะสร้างนานแล้วประมาณ 14-15 ปีนั้นก็ยังไม่ได้สร้าง จึงได้ปรับโครงการนี้เป็นศูนย์กำกับความปลอดภัยโรงงานนิวเคลียร์ขึ้น ซึ่งหมายความว่าในสำนักนี้มีทั้งสองรูปแบบคือ หน่วยปฏิบัติ และหน่วยควบคุมในตัวเองด้วย

เช่น การรั่วไหลของสารกัมตรงมีในประเทศญี่ปุ่น


สิ่งแวดล้อม

ปัญหาสิ่งแวดล้อม
สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม

สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ
1. การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น

ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ
ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ

ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง

มลพิษทางอากาศ
        โลกของเรามีชั้นของบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบหนาประมาณ 15 กิโลเมตร ชั้นของบรรยากาศดังกล่าวนี้ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน ฝุ่นละอองไอน้ำ และเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ในจำนวนก๊าซเหล่านี้ ก๊าซที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงอยู่ของ สิ่งมีชีวิตในโลก คือ ก๊าซออกซิเจนและชั้นของบรรยากาศที่มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอ ต่อการดำรงชีวิตมีความหนาเพียง 5 - 6 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งปกติจะมีส่วนประกอบ ของก๊าซต่าง ๆ ค่อนข้างคงที่ คือ ก๊าซไนโตรเจน 78.09% ก๊าซออกซิเจน 20.94% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเฉื่อย 0.97%ในปริมาณคงที่ของก๊าซดังกล่าวนี้ เราถือ ว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์แต่เมื่อใดก็ตามที่ส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไปมีปริมาณ ของฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น หมอกควัน ไอ ไอน้ำ เขม่าและกัมมันตภาพรังสีอยู่ในบรรยา กาศมากเกินไป เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า “อากาศเสีย” หรือ “มลพิษทางอากาศ”

แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.ยานพาหนะ
         ยานพาหนะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศจำกัดเฉพาะในเขตชุมชนขนาดใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่ปัญหามลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทยทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง

2. แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม
         มลพิษทางอากาศจากแหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ

เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง
เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล
เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG
 

มลพิษจากแสงอาทิตย์
           เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น แสงแดดอ่อน ๆ จากดวงอาทิตย์จะทำให้สุขภาพของร่างกายและจิตใจรื่นรมย์ขึ้น เสมือนว่าได้รับการชำระล้างความสกปรกหมักหมมที่ผ่านมาตลอดวันและคืน เราจึงนิยมผึ่งแดดในยามเช้า แต่พอสาย แสงแดดกล้าขึ้น ร่างกายและจิตใจที่เบิกบานจะค่อย ๆ ลดลง ๆ ผิวอันนวลเนียนจะเริ่มระคายเคือง ถ้าตากแดดต่อไปนาน ๆ ผิวจะเกรียมเป็นสีน้ำตาล ใบหน้าลอก และมีฝ้าเกิดขึ้น เกิดโรคแพ้ภูมิคุ้มกัน เจ็บไข้ได้ป่วยได้ง่าย

ที่จริงแล้ว แสงแดดจากดวงอาทิตย์มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์ พืชพันธุ์ต่อวิทยาศาสตร์ และต่อโลกอย่างมหาศาล เช่น คนในเขตร้อนมักไม่ค่อยเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก เนื่องจากได้รับแสงแดดเพียงพอในการสังเคราะห์วิตามินดี-3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อการบำรุงกระดูก หรือทางด้านวิทยาศาสตร์ก็สามารถนำรังสีอุลตราไวโอเลตจากการสังเคราะห์มาใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมีได้
         แสงอาทิตย์ประกอบด้วยแสงต่าง ๆ ทั้งชนิดที่ตามองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แสงหรือรังสีอันตราย คืออัลตราไวโอเลต ซึ่งเป็นรังสีประเภทที่ตามองไม่เห็น คือ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่ตามองเห็นได้ รังสีอุลตราไวโอเลตมี 2 ชนิด คือ อัลตราไวโอเลต-เอ มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 320-400 นาโนเมตร และอุลตราไวโอเลต-บี มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 290-320 นาโนเมตร
          ความเป็นพิษของรังสีอุลตราไวโอเลต เกิดจากรังสีนี้เมื่อไปกระทบกับผิวหนังจะทำอันตรายต่อเซลล์ของร่างกาย จากการศึกษาวิจัยพบว่า กรดอะมิโน ซึ่งมีอยู่ในโปรตีนในร่างกายดูดกลืนรังสีนี้ได้ดี และทำให้เกิดสารพิษในร่างกายขึ้นหลายชนิด ที่เป็นต้นเหตุของมะเร็งที่ผิวหนัง

กรดในร่างกายอีกชนิดหนึ่ง คือ กรดนิวคลีอิคก็สามารถดูดกลืนรังสีนี้ได้ แม้จะไม่มากนัก แต่ก็ทำให้เกิดสารเคมีที่เป็นผลร้ายต่อกรรมพันธุ์ ทำให้ลูกหลานที่เกิดมามีลักษณะผิดปกติ ผ่าเหล่าผ่ากอ

มลภาวะจากกัมมันตะรังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ
              รังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งได้จากการสลายตัวของกัมมันตภาพวัตถุกลายเป็นธาตุต่าง ๆ ธาตุกัมมันตภาพรังสีที่สำคัญมีอยู่ 2 ตระกูลคือ ยูเรเนี่ยม (Uranium) และทอเรี่ยม (Thorium) ธาตุทั้งสองนี้ต่างก็สลายตัวเป็นธาตุต่าง ๆ หลายธาตุที่น่าสนใจคือ ตระกูลยูเรเนี่ยมให้ธาตุเรดอน (Radon) และตระกูลทอเรี่ยมให้ธาตุโทรอน (Thoron) ทั้งเรดอนและโทรอน มีสภาพเป็นก๊าซลอยขึ้นมาจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศอยู่ตลอดเวลา ธาตุทั้ง 2 นี้ จะส่งกัมมันตรังสีออกเป็นหลายช่วง กลายเป็นธาตุต่าง ๆ ดังนั้นทุกครั้งที่เราหายใจเอากาศเข้าปอด ย่อมได้รับส่วนของรังสีของธาตุต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเข้าไปด้วย จากการติดตามข่าว ปรากฎว่าทางภาคอีสานมีธาตุกัมมันตรังสีอยู่ ตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมาจนถึงจังหวัดขอนแก่น ส่วนทางภาคใต้ก็มีขี้แร่ดีบุก พวกโมโนไซด์เป็นแร่ธาตุที่มีกัมมันตรังสีอยู่เช่นกัน แถวสงขลา นราธิวาส ขณะนี้ทำเป็นเม็ดยูเรเนี่ยมได้แล้ว ส่วนทางภาคเหนือยังไม่มีการสำรวจ คาดว่าคงจะพบเช่นกัน ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้รับรังสีก็ย่อมมี นอกจากนั้นสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อม ยังได้วิจัยเพื่อวัดปริมาณของเรดอนและโทรอน โดยดูดอากาศกลางแจ้งผ่านกระดาษกรองเผาเป็นเถ้าเพื่อลดปริมาณของกระดาษกรอง แล้ววัดปริมาณของรังสีมีผลเฉลี่ยที่น่าสนใจ คือ ในฤดูหนาวมีลมพัดจากแผ่นดินใหญ่จีนเข้าสู่ประเทศไทยทางทิศเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือ จะนำเอาก๊าซทั้งสองชนิดเข้ามา


http://202.28.94.60/webcontest/2551/g36/main2.html